วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ดร.จิตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.30 - 17.00 น.




ความรู้ที่ได้รับ
    
        วันนี้ได้พูดถึงข้อชี้แนะ และข้อบกพร่องของแต่ละแผนที่จะทดลองสอนจริง ว่ามีส่วนไหนที่ยังพบข้อบกพร่องอยู่อาจารย์ได้ในนำกลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง เช่น แผนเคลื่อนไหว อาจารย์ก็จะเสนอเเนะในส่วนของการเคาะจังหวะ ให้เคาะจังหวะปกติและจังหวะเร็ว เพราะเด็กยังแยกแยะจังหวะปกติกับจังหวะช้าไม่ได้ จะทำให้เด็กสับสนดังนั้นเราจึงควรเคาะจังหวะที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายและมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงการทำท่าทางเลียนแบบสิ่งต่างๆตามแผน ควรทำให้สอดคล้องกับเเผนการจัดประสบการณ์ของเราในการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ควรแบ่งให้ชัดเจน ไม่วุ่นวาย ดังนั้นครูควรมีเทคนิคในการเเบ่งที่ดีและน่าสนใจ


แผนการจะดประสบการณ์ เคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วยยานพาหนะ






การนำความรู้ไปใช้

- ทำให้รู้ถึงประโยชน์ในเรื่องของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ เคลื่อนไหวและจังหวะ ได้อย่างถูกต้อง

- การได้ทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถฝึกประสบการการสอนของตนเองและพัฒนาตนเองไปภายในตัว

- ได้รู้ถึงเทคนิคต่างๆในการสอนว่าส่วนไหนควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นได้อย่างไร และส่วนไหนดีแล้ว สามารถนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

การเรียนในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาปรับปรุงตนเองและสามารถนำไปใช้ในการฝึกประสบการณ์การสอนได้เป็นอย่างดี


ประเมินตนเอง

ประเมินตนเอง : การเรียนในวันนี้ดิฉันได้เตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้าคือได้ศึกษาวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหว และจังหวะ และได้นำมาให้อาจารย์ตรวจความถูกต้องอีกครั้ง การแต่งกายมาเรียนดิฉันใส่ชุดพละของมหาวิทยาลัย มาเรียนก่อนเวลาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน


ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ มีความสนุกสนานบรรยากาศในการเรียนเพื่อนๆตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเป็นกันเอง วันนี้อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหว และเทคนิคการสอนเป็นอย่างดีมาก ตรงไหนที่นักศึกษาทุกคนไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะอธิบายและสาธิตการสอนให้นักศึกษาดู ทำให้ดิฉันเห็นถึงความตั้งใจและความใส่ใจของอาจารย์ต่อการถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างมาก




วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ดร.จิตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 14.30 - 17.00 น.




ความรู้ที่ได้รับ

 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้ในเรื่องของการจัดทำแผนการสอน มีการอธิบายและยกตัวอย่างให้ฟังอย่างละเอียด และมอบหมายให้ทำงานกลุ่มโดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้จัดทำแผนการสอนขึ้นหนึ่งหน่วย ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ตกลงกันว่าจะทำหน่วย "ยานพาหนะ"  

อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ ส่วนประกอบของการจัดทำแผนการสอน ได้แก่

- วัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้น
- ประสบการณ์สำคัญ คือ สิ่งที่เด็กลงมือกระทำ จะแยกออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
- กรอบพัฒนาการและกิจกรรม คือ ขอบเขตของการปฏิบัติกิจกรรม รวมถึงการประเมิน
- การบูรณาการ จะแบ่งออกเป็น 
                  
 คณิตศาสตร์ 
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด การตวง หาค่า เลือกขนาด
3. เลขาคณิต รูปทรง รูปร่าง 
4. พีชคณิต แบบรูปต่างๆ 
5. การเก็บข้อมูล และนำเสนอภาพ
6. การใช้หลักการทางคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ 
1. กำหนดปัญหา
2. รวบรวมข้อมูล
3. ตั้งสมมติฐาน
4. การทดลอง
5. การสรุปผล

  สังคมศึกษา ได้แก่ การปฏิบัติที่มีส่วนร่วม ศิลปะแบบร่วมมือ สร้างชิ้นงานแบบร่วมมือ และนิทานแบบร่วมมือ   พลศึกษา ได้แก่ การเคลื่อนไหว การดูแลตนเอง การล้างมือ การเล่นกลางแจ้ง และสุขอนามัย
  ศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมพิเศษ (เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าของ             สิ่งของ)
  ภาษา ได้แก่ การฟัง, การพูด(เสนอความคิดเห็น), การอ่าน(อ่านภาพ อ่านสัญลักษณ์), การเขียน(เขียนคำที่สำคัญกับหน่วย เขียนภาษา)

กิจกรรมหลัก 
 1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
 2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ได้แก่ ชนิด, ลักษณะ, การดูแลรักษา,                                                        ประโยชน์, ข้อควรระวัง
 3. กิจกรรมศิลปะ (จะต้องสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์)
 4. กิจกรรมเสรี (เล่นตามมุม)
 5. กิจกรรมกลางเเจ้ง
 6. กิจกรรมเกมการศึกษา




การนำความรู้ไปใช้

1. สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน และการสังเกตพฤติกรรมเด็กในอนาคตได้เป็นอย่างดี
2. ทำให้รู้ถึงขั้นตอนต่างในการสอนเด็ก หลักการสอนที่ถูกต้องมีการวางแผนก่อนการสอนที่ถูกต้อง
3. ทราบถึงความหมายของการทำแผนว่ามีความสำคัญอย่างไร
4. ได้ทราบถึงคำต่างๆหรือคำศัพท์ต่างๆของการเขียนแผนว่าควรเขียนอย่างไรให้ถูกต้อง
5. ทำให้เราได้เรียนรู้กระบวนการเขียนแผนตั้งแต่ต้นจนจบ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
6. สามารถเป็นแนวทางในการไปปรับใช้สอนเด็กในห้องเรียนร่วมในการลงฝึกสอนได้เป๋นอย่างดี



ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการเรียน เข้าเรียนก่อนเวลา และได้ศึกษาแนวทางการเขียนแผนจากอาจารย์ท่านอื่นเพื่อนำมาประยุกตร์ให้มีความสอดคล้องตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนทุกครั้ง และมีการให้ความร่วมมือทุกครั้งในการตอบคำถามของอาจารย์

ประเมินเพื่อน : เพื่อนบางคน รวมทั้งตัวดิฉัน เข้าเรียนก่อนเวลา และบางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลา เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย บรรยากาศในห้องเรียนมีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลินค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลา แต่งกายเรียนร้อย ตั้งใจสอน และยกตัวอย่างได้เป็นอย่างดี มีเทคนิค แลบะคำแนะนำในนักศึกษา และเป็นกันเองกับนักศึกษาทุกคนค่ะ







วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14.30-17.00 น.




ความรู้ที่ได้รับ

        ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนองานจากที่นักศึกษาได้ไปศึกษาค้นคว้าในสัปดาห์ที่แล้วในหัวข้อ การจัดการเรียนรู้ในรุปแบบของมองเตสซอรี่







กิจกรรมการเรียนแบบมอนเตสซอรี 

               1. การศึกษาด้วยมือ   ในห้องเรียนระบบมอนเตสซอรี เด็กจะแทบไม่ได้เรียนจากหนังสือ ในทุกๆ กรณี การเรียนแบบลงมือทำเอง หรือภาคปฏิบัติ หรือได้จับต้องหรือสัมผัสและใช้อุปกรณ์การเรียนต่างๆ ด้วยตัวเอง จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง
               2. กิจกรรมที่เป็นไปโดยธรรมชาติ  เป็นเรื่องธรรมชาติปกติสำหรับเด็กที่จะพูด เคลื่อนไหว จับต้องสิ่งต่างๆ และค้นคว้าโลกที่อยู่รอบๆ ตัวเขา ตามสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรีอย่างแท้จริง จะส่งเสริมและปล่อยให้เด็กมีอิสระเสรีอย่างมีเหตุมีผล โดยไม่เกินขีดจำกัดของพฤฒิกรรมอันดีที่ควรมี โดยในเวลาส่วนใหญ่ เด็กจะใช้ไปกับการเลือกทำกิจกรรมที่ได้รับมอบแบบตัวต่อตัว ในเรื่องที่ตนเองสนใจ
                3. การเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น   ในสภาพแวดล้อมแบบมอนเตสซอรี เด็กไม่เพียงแต่สามารถเลือกประกอบกิจกรรมที่ครูหยิบยื่นให้ แต่ยังสามารถที่จะทำงานนั้นๆ ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานนับสัปดาห์ หรือเดือน จนกระทั่งงานนั้นๆ ดูเหมือนจะง่ายดายสำหรับเขา จนเขาสามารถสาธิตให้เด็กรุ่นเล็กกว่าทำได้ นี่เป็นหนึ่งในวิธีการที่ผู้ให้การศึกษาระบบมอนเตสซอรีใช้ในการวัดความสามารถของเด็ก ว่าถึงระดับความชำนาญในสิ่งนั้นๆ
                4. ประกอบกิจกรรมตามแรงจูงใจ   หนึ่งในแนวความคิดแบบมอนเตสซอรี คือ เด็กมีความต้องการเป็นตัวของตัวเอง เห็นว่าตนเป็นสิ่งมีชีวิตอันมีค่าในโลก และเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จนชำนาญ ด้วยเหตุนี้ การตอบแทนด้วยรางวัลจะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และอาจนำเด็กเหล่านี้ไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง และต้องขออนุญาตทุกๆ สิ่งทุกอย่าง แม้แต่การสานฝันของตัวเอง เลือกทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ เด็กๆ ในระบบมอนเตสซอรีจะสร้างระบบความคิดแบบตัวของตัวเอง และการค้นพบตัวเอง โดยใช้ความคิดของตนในการตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิด
                 5. อิสรเสรีภาพแบบมีขีดจำกัด   แม้เด็กๆ ในระบบมอนเตสซอรีจะมีความสุขกับอิสรเสรีภาพในการเลือกสิ่งต่างๆ แต่อิสรเสรีภาพนั้นๆ ควรมีขอบเขตที่จำกัดบ้าง โดยต้องจำกัดอย่างระมัดระวังและยังอยู่บนพื้นฐานของพฤฒิกรรมของเด็ก เด็กมีอิสระที่จะทำในสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง และอยู่ในระเบียบของสังคม แต่ควรต้องนำทางเด็กบ้างหากออกนอกลู่นอกทางมากเกินไป
                6. การเรียนรู้ด้วยวินัยของตัวเอง   ในระบบการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี เด็กมิได้เรียนเพื่อให้ได้คะแนนหรือรางวัลใดๆ หรือมิได้ทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเพื่อเพียงให้เสร็จสิ้น เด็กๆ เรียนรู้เพราะเกิดจากความสนใจและความต้องการเรียนรู้ เพื่อให้ตนเป็นบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นตัวของตัวเอง

สังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยระบบมอนเตสซอรี

                7. กลุ่มคละอายุในสภาวะแวดล้อมที่ใช้ระบบมอนเตสซอรี จะมีการรวบรวมกลุ่มของเด็กที่มีอายุแตกต่างกัน หรือหลายกลุ่มอายุ รวมเป็นหนึ่งครอบครัว เด็กจะอยู่ด้วยกันเป็นเวลาหลายปี โดยเด็กที่พัฒนาเต็มที่จะเปลี่ยนไปอยู่กกันและกัน ไม่มีการแข่งขันระหว่างกันเพื่อชัยชนะ หรือเพื่อศักดิ์ศรี และเนื่องจากเด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง ครูจึงควรหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบกันระหว่างเด็กคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง
               10. จริยธรรมในระบบมอนเตสซอรี ควรพัฒนาเด็กไปในทิศทางที่ให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีและเป็นสุภาพชน โดยค่อยๆ ทำให้เด็กได้รับการซึมซับสิ่งที่ดี ทั้งนี้ รวมถึง การมีความเคารพต่อตนเอง การยอมรับผู้อื่น ความมีจิตใจดี ความสงบ ความรัก ความมีจิตสำนึกที่ดี มีเกียรติ มีความรับผิดชอบ และมีความกล้าแสดงออกที่จะพูดแบบเปิดใจ
               11. บริการผู้อื่นหรือจิตอาสา มุมมองในด้านจิตใจของระบบมอนเตสซอรีทำให้เด็กมีจิตสำนึกในการช่วยเหลือบริการ เอาใจใส่ผู้คนรอบข้าง ตั้งแต่การช่วยเหลือเพื่อนในชั้นเรียน หรือในโรงเรียน จนถึงในระดับชุมชน ที่ทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีจิตสำนึกในการให้ความช่วยเหลือผู้คนรอบข้างในกลุ่มอายุอีกกลุ่มหนึ่ง  เมื่อเห็นว่ามีความพร้อม
                8. การจัดกลุ่มแบบครอบครัว  สภาวะ แห่งการเรียนแบบนี้ประกอบด้วยเด็กและผู้ใหญ่ เมื่อเด็กเติบโตมากขึ้น และมีความสามารถมากขึ้น เด็กจะเกิดความรับผิดชอบในการช่วยเหลือและดูแลสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก และเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่เด็กๆ ที่เป็นรุ่นน้อง
                9. ความร่วมมือ มากกว่าการแข่งขัน  เด็กๆ ในระบบมอนเตสซอรี จะถูกส่งเสริมให้ปฏิบัติต่อกันและกันด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน การดูถูกเหยียดหยามกัน เป็นพฤติกรรมที่มีน้อยลงมากเต็มที แต่เรากลับพบว่าเด็กๆ มีความรั


การนำไปใช้

1. ทำให้ได้รับประโยชน์ในเรื่องของการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่างๆ 
2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปพัฒนาปรับใช้กับตนเองได้เป็นอย่างดี
3. ทำให้เข้าใจเด็กปฐมวัยมากขึ้น
4. ได้ศึกษาวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆที่หลายหลายและมีประโยชน์มากๆ


ประเมินตนเอง : ในการเรียนวันนี้ สภาพบรรยากาศในห้องเรียนทุกคนดูสนุกสนานร่าเริงมีการศึกษาคำอธิบายในรายวิชามาบ้าง รวมถึงตัวดิฉันด้วยก็มีความสุขเช่นกันที่ได้เรียนกับอาจารย์ ในวันนี้ ดิฉันตั้งใจเรียนเป็นอย่างมาก และนำข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปปรับปรุงและปรับใช้ค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีความสุขกับการเรียน เพื่อนทุกคนมีการจดบันทึก เพื่อนมีวิธีการนำเสนองานที่มีความแตกต่างหลากหลายและเนื้อหามีความหน้าสนใจเป็นอย่างมาก

ประเมินอาจารจย์ : อาจารย์ใส่ใจมากในการสอนนักศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ ชอบที่อาจารย์เป็นกันเองกับพวกเรา อาจารย์หน้ารัก และอาจารย์หาเทคนิคที่เป็นตัวของอาจารย์เองมาสอนให้แค่ทุกคน นักศึกษาจึงชอบมากเลยค่ะ  รู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน และได้แรกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน และทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอีกด้วย


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ดร.จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 27 มกราคม 2559
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 14.30 - 17.00 น.

ความรู้ที่ได้รับ

        ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 5 คน ไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ และแบ่งประสบการณ์ต่างๆแก่เพื่อนในชั้นเรียน โดยมีการนำเสนองานในรูปแบบ powerpoint มีตัวอย่างที่ชัดเจน และมีรูปเล่มรายงานที่สมบรูณ์ครบถ้วนและถูกต้อง ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้เลือกในหัวข้อ การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบมอนเตรสเซอรรี่


การนำไปใช้

1. ทำให้รู้ถึงการมองมอบหมายงานและหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับเพื่อนนั้นควรปฏิบัติอย่างอย่างไร
2. ทำให้รู้ถึงประโยชน์ในเรื่องของการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่างๆ
3. ทำให้เข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กมากขึ้น
4. สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี


ประเมินตนเอง : ในการเรียนวันนี้ สภาพบรรยากาศในห้องเรียนทุกคนดูสนุกสนานร่าเริงมีการศึกษาคำอธิบายในรายวิชามาบ้าง รวมถึงตัวดิฉันด้วยก็มีความสุขเช่นกันที่ได้เรียนกับอาจารย์ ในวันนี้ ดิฉันตั้งใจเรียนเป็นอย่างมาก เพราะไม่อยากทำให้อาจารย์ลำบากใจ และแต่งกายสุภาพเรียนร้อยค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีความสุขกับการเรียน เพื่อนทุกคนมีการจดบันทึก สิ่งที่สำคัญที่อาจารย์ได้พูดมาใส่ลงในชีส และหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารจย์ : อาจารย์ใส่ใจมากในการสอนนักศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ ชอบที่อาจารย์เป็ฯกันเองกับพวกเรา อาจารย์หน้ารัก และอาจารย์หาเทคนิคที่เป็นตัวของอาจารย์เองมาสอนให้แค่ทุกคน นักศึกษาจึงชอบมากเลยค่ะ  รู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน และได้แรกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน และอยากให้อาจารย์จัดกิจกรรมแบบนี้บ่อยๆค่ะ